Polyurethene waterproof (กันซึมโพลียูรีเทน )

Polyurethane waterproofing คือระบบกันซึมที่ใช้โพลียูรีเทน (Polyurethane) เป็นวัสดุหลักในการเคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันน้ำซึม โดยมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ทนทาน และสามารถป้องกันน้ำได้ดี มักใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้าง เช่น หลังคา ดาดฟ้า ผนังภายนอก พื้นห้องน้ำ และบริเวณที่เสี่ยงต่อการรั่วซึมของน้ำ

คุณสมบัติของ Polyurethane Waterproofing:

  1. ยืดหยุ่นสูง: โพลียูรีเทนสามารถยืดตัวได้สูง ทำให้รองรับการขยายตัวและหดตัวของพื้นผิวได้ดี เหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  2.  
  3. ป้องกันน้ำซึมได้ดี: ฟิล์มที่เคลือบด้วยโพลียูรีเทนจะกลายเป็นชั้นกันน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง ป้องกันการซึมของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4.  
  5. ทนทานต่อสภาพอากาศ: ทนต่อแสงแดด รังสี UV และความชื้น ทำให้สามารถใช้งานกลางแจ้งได้โดยไม่เสื่อมสภาพง่าย
  6.  
  7. การยึดเกาะที่ดี: สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต โลหะ ไม้ หรือกระเบื้อง
  8.  
  9. บำรุงรักษาง่าย: ทำความสะอาดง่ายและไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อย
  10.  
  11. ทนต่อสารเคมี: สามารถทนต่อสารเคมีบางประเภท จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการสัมผัสกับสารเคมีบ่อย ๆ
โพลียูรีเทนกันซึม (Polyurethane Waterproof)

 ⇒ เป็นวัสดุป้องกันการซึมของดาดฟ้าที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงสามารถปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี

⇒ สารพอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการทำปฎิกิริยากันของสารเคมีหลัก 2 ชนิดด้วยกันมักเรียกสั้น ๆ ว่า กันซีม PU 

⇒ ทนทานต่อแรงขีดข่วนได้อย่างดีเยี่ยม พลียูรีเทนได้ถูกใช้ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

⇒ มีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี 

⇒ ใช้ได้กับพื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการป้องจากสภาวะอากาศที่รุนแรงและการขูดขีดจากการสัญจร 

⇒ ทนต่อน้ำขังและสารเคมี ทนแสง UV 

Polyurethane Waterproof(กันซึม) มี 2 ประเภท คือ

1.กันซึมโพลียูรีเทน ประเภทส่วนผสมเดียว

√  คือกันซึม PU ที่มีเพียงส่วนประกอบเดียวเท่านั้น ไม่มีส่วนผสมของ Hardener กันซึมพียูประเภทส่วนผสมเดียว

√ จะแห้งตัวจากการสัมผัสอากาศ Air cure และแห้งตัวจากการสัมผัสแสง UV cure

√ กันซึมดังกล่าว จะมีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึมได้ดีกว่า

√ ป้องกันการรั่วซึมได้ดีกว่ากันซึมแบบยางมะตอย Bitumen Waterproof และกันซึมอะคริลิก Acrylic Waterproof

2. กันซึมโพลียูรีเทน ประเภทสองส่วนผสม

√ คือ กันซึมพียูที่ผสม Polyurethane Resin กับ Hardener 

√ จะแห้งตัวโดยการผสม Part A และ Part B เข้าด้วยกัน

√ โดย Polyurethane Resin จะจับพันธะทางเคมีกับ Hardener

√ กันซึม Polyurethane ประเภทสองส่วนผสมจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อายุการใช้งาน 3 – 10 ปี

√ มีคุณสมบัติในการป้องกันการรั่วซึมได้ดีเยี่ยม สามารถเคลือบกันซึม ที่ความหนาตั้งแต่ 1.0 – 10.0 mm.

คุณสมบัติ Polyurethane Waterproof(กันซึม)

⇒ ใช้ได้ทั้งดาดฟ้าที่ก่อสร้างใหม่ และงานซ่อมบำรุงดาดฟ้าเก่า

⇒ ทนทานต่อน้ำที่ขังตัวอยู่บนดาดฟ้าได้เป็นเวลานาน

⇒ มีการยึดเกาะดีกับพื้นผิวหลายประเภท เช่น คอนกรีต, ปูนฉาบ, งานก่ออิฐ เป็นต้น

⇒ พื้นผิวเรียบ ไร้รอยต่อ ทนทานต่อน้ำและแสงแดดได้อย่างดี

⇒ ทนต่อทุกสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนเย็นหรือฝน

⇒ ซ่อมบำรุงง่าย

⇒ ทนทานต่อการฉีกขาดและสารเคมี

⇒ ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว

คุณสมบัติพิเศษ

⇒ กันซึม PU จะทำหน้าที่รับแรงดึงและปกปิดรอยร้าว 

⇒ ทนทานต่อแสง UV ได้ดี

⇒ มีสารช่วยสะท้อนความร้อน

⇒ มีค่าทนแรงดึงมากกว่า7 N/mm2

⇒ ที่ทนต่อการแตกร้าวของคอนกรีตถึง 2 มม.

ขั้นตอนการทำกันซึมโพลียูรีเทน
ก่อนทากันซึม ควรปฏิบัติอย่างไร

⇒ ตรวจสอบการรั่วซึมจากวัสดุมุงหลังคา 

⇒ ตรวจสอบการรั่วซึมจากภายนอก 

⇒ ตรวจสอบการรั่วซึมจากภายใน

⇒ ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน

⇒ ทำตวามสะอาดพื้นผิว ให้สะอาดปราศจากฝุ่นและเศษวัสดุ ถ้าหากมีฝุ่นหรือเศษวัสดุจะทำให้ยากต่อการลงพื้นผิว พื้นผิวต้องแห้งไม่มีสารเคลือบผิวที่ส่งผลต่อการยึดเกาะ จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกครั้งไม่ให้มีฝุ่น

⇒ การซ่อมแซมที่ 1 หากพื้นผิวมีรอยการแตกร้าวที่กว้างเกินกว่า 0.4 มม. ควรซ่อมแซ่มด้วยการใช้เจียรเปิดรอยแตกเป็นรูปตัววีและยิงด้วย Polyurethane Saetant ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี ผู้ปฎิบัติงานความมีแว่นตาในการเจียรทุกครั้ง

⇒ การซ่อมแซ่มที่ 2 เกลี่ยผิวให้เรียบทา ยาแนวโป๋วปิดรอยแตก 2-3 รอบ รอให้แห้งไม่ต่ำกว่า 12 ช.ม ขั่นตอนนี้จะใช้ระยะเวลานานหน่อยเพราะต้องรอให้ยาแนวแห้ง ต้องปิดรอย 2-3 รอบ แต่จะทำให้งานออกมาดีและละเอียด ไม่รั่ว

⇒ การทารองพื้น การทารองพื้นต้อง เลือกใช้รองพื้นให้เข้ากับพื้นผิวที่เราต้องการติดตั้งกันซึมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้ดียิ่งขึ้น ถ้าเลือกไม่ดีอาจจะทำให้กันซึ่มไม่ยึดเกาะ ทำให้มีรอยรั่วได้

⇒ การติดตั้ง ทาด้วยแปรงลูกกลิ้งหรือพ่นด้วยเครื่องพ่น ทิ้งให้แห้ง 4-12 ช.ม ทาไม่น้อยกว่า 2 เที่ยว สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบแปรงและแบบเครื่องพ่น แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้งาน

⇒ ข้อควรระวัง ควรทาในอุณหภูมิ ระหว่าง 5 องศา -35 องศา เพราะอุณหภูมิต่ำจะทำให้เเห้งช้าและอุณหภูมิสูงจะทำให้แห้งตัวเร็ว และไม่ควรทาหลังฝนตก ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายทีต้องระวังเช่นกัน

พื้นที่ไหนต้องมีระบบกันซึม

⇒ ชั้นใต้ดิน (ผนังและพื้นใต้ดิน)

⇒ สระว่ายน้ำ 

⇒ ห้องน้ำ

⇒ ระเบียง ดาดฟ้า หลังคา

⇒ ถังบำบัดน้ำเสีย 

⇒ ผนังภายนอก 

⇒ พื้นที่อื่นๆ พื้นที่พิเศษ 

ทำไมต้องมีระบบกันซึม

คำถามที่ว่าทำไมต้องทำระบบกันซึม ทั้งที่บ้านเก่าสมัยก่อนยังไม่เห็นมีระบบนี้มาก่อน คำตอบคือ ในปัจจุบันการออกแบบและการก่อสร้างมีความซับซ้อนมาก การใช้งานอาคารที่ซับซ้อน และมีงานระบบต่างๆ เข้ามาประกอบมากมายทั้งยังมีความต้องการให้อาคารนั้นมีความทนทานมากขึ้นและมีอายุการใช้งานของอาคารยาวนานโดยมีการซ่อมบำรุงน้อย 

การติดตั้งระบบกันซึม จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพราะน้ำและความชื้นเป็นตัวการสำคัญที่เป็นการทำลายโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและทำความเสียหายต่อวัสดุตกแต่งและกระทบการใช้งานบางครั้งจำเป็นต้องปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย

อีกเหตุผลโดยเฉพาะในประเทศไทยคือ ประเทศไทยนั้นฝนตก 6 เดือน ตกแรงและมีมรสุม อีกทั้งประเทศไทยมีน้ำใต้ดินสูงและมีน้ำท่วมน้ำขังแทบจะตลอดฤดูฝน เป็นเหตุผลที่ต้องการระบบกันซึมในการป้องกันทั้งน้ำและความชื้น

พื้นที่เหมาะสมกับการติดตั้งกันซึม PU

การใช้งานของ Polyurethane Waterproofing:

  1. หลังคาและดาดฟ้า: ใช้เคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าสู่โครงสร้างภายใน
  2.  
  3. ผนังภายนอกอาคาร: ป้องกันความชื้นและน้ำฝนที่อาจซึมผ่านผนังภายนอก
  4.  
  5. พื้นห้องน้ำและระเบียง: ป้องกันน้ำซึมลงสู่ชั้นล่าง ปกป้องพื้นที่ที่มีการใช้น้ำเป็นประจำ
  6.  
  7. อุโมงค์และสะพาน: ใช้ป้องกันน้ำซึมเข้าสู่โครงสร้างคอนกรีตที่อยู่ใต้ดินหรือกลางแจ้ง
  8.  
  9. สระว่ายน้ำ: เคลือบเพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำจากสระไปสู่พื้นที่โดยรอบ
  10.  
  11. พื้นที่ที่มีการรั่วซึม: เช่น ถังเก็บน้ำใต้ดินหรือแทงค์น้ำ
acrylic waterproofing

ข้อดีของ Polyurethane Waterproofing:

  • ทนทานต่อการใช้งานหนัก: อายุการใช้งานนาน และไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก
  •  
  • ป้องกันน้ำได้ดีเยี่ยม: ช่วยป้องกันความเสียหายจากน้ำที่จะเข้ามาทำลายโครงสร้าง
  •  
  • ปรับใช้ได้กับหลายพื้นผิว: ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เรียบหรือพื้นที่ที่มีความซับซ้อน
  •  
  • ทนต่อสภาพแวดล้อม: ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ดี
  •  
  • ติดตั้งง่าย: สามารถทา พ่น หรือใช้ลูกกลิ้งในการติดตั้งได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ซับซ้อน