ปัญหางานกันซึมดาดฟ้า ต้องทำยังไงไม่ให้กลับมารั่วเหมือนเดิม

แนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหางานกันซึมดาดฟ้า ต้องทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดปัญหากลับมารั่วเหมือนเดิม ข้อควรรู้ที่จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตอบโจทย์

เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหากันมาอย่างยาวนานเลยทีเดียวสำหรับดาดฟ้ารั่วซึม ที่แก้ไขค่อนข้างยาก เพราะเมื่อแก้ไขแล้วก็จะกลับไปรั่วซึมอีก

ทำให้หลายคนต่างกำลังมองหาเคล็ดลับหรือวิธีที่สำหรับการแก้ดาดฟ้ารั่วซึมที่สามารถแก้ได้ขาด ไร้ปัญหากลับมาอีก แล้วสาเหตุของการรั่วซึมคืออะไร เกิดขึ้นเพราะอะไร

จะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถที่จะป้องกันได้ บทความนี้ DMH มีคำตอบ ที่จะช่วยให้เรื่องดาดฟ้ารั่วซึมจบลงและไม่รบกวนคุณอีกแน่นอน จะมีวิธีไหนนั้น ไปติดตามกัน!

สาเหตุของดาดฟ้ารั่วซึมที่เราคาดไม่ถึง

ปัญหาหลักๆ ของดาดฟ้ารั่วซึม เนื่องจากมีรอยแตกร้าวที่บริเวณขอบมุมพื้นและผนังดาดฟ้า ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้นแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

โดยเกิดจากการติดตั้งวัสดุต่างๆ ที่ผิดประเภทและไม่เหมาะสมบนดาดฟ้า ทำให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้น รวมถึงอีกหนึ่งปัจจัยคือการอุดตันของช่องระบายน้ำ

ซึ่งเราได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาแต่ละข้อมาอธิบายให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บนดาดฟ้ารั่วซึมเพราะมีรอยแตกร้าว

สำหรับปัญหารอยแตกร้าวบนพื้นผิวของดาดฟ้าที่เป็นคอนกรีด มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็น โดยเกิดทั้งจากแสงแดด ฝนตก

ที่จะส่งผลให้พื้นผิวคอนกรีตบนดาดฟ้ามีการยืดและหดตัวจนกลายเป็นรอยแตกร้าว ถ้าหากไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีการทำกันซึมดาดฟ้า เมื่อมีฝนตกลงมาและเวลาผ่านล่วงไป

น้ำก็อาจจะซึมเข้าสู่รอยแตกร้าวจนลึกพร้อมเข้าไปที่โครงสร้างจนทำให้กลายเป็นสนิมที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของอาคารได้

ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้ต้องทำกันซึมเพื่อที่จะป้องกันปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบมุมพื้นและผนังดาดฟ้าเกิดรอยแตกร้าว

รอยต่อตามขอบมุมรอยต่อระหว่างพื้นและผนังบนดาดฟ้า ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ดาดฟ้าเกิดการรั่วซึม หากปล่อยไว้นาน ไม่จัดการกับรอยต่ออย่างเหมาะสม  

รอยแตกร้าวต่างๆ จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อฝนตกจะทำให้น้ำและความชื้นจะสะสมอยู่ ทำให้เกิดเชื้อรา ตะและน้ำซึมเข้าไปสู่โครงสร้างได้เช่นกัน

ทำให้โครงสร้างมีโอกาสเป็นสนิทได้ แนะนำเพิ่มเติมว่ากันซึมดาดฟ้า ควรเน้นย้ำบริเวณขอบควรยกจากพื้นประมาณ 10-15 ซม.

ดาดฟ้ารั่วซึม เพราะช่องระบายน้ำอุดตัน

เป็นสาเหตุของดาดฟ้ารั่วซึมที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากที่สุดแต่ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายที่สุดเช่นกัน แนะนำว่า ควรหมั่นตรวจสอบดาดฟ้าอย่าให้มีเศษใบไม้กิ่งไม้ทับถมช่องระบายน้ำ

เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังบนดาดฟ้า เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องดาดฟ้ารั่วซึมได้เป็นอย่างดี

ดาดฟ้ารั่วซึม เพราะคิดว่ามีการทำกันซึมดาดฟ้าไว้แล้วหรือใช้วัสดุการทำผิดประเภท

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับดาดฟ้ารั่วซึม เนื่องจากคิดว่าทำกันซึมดาดฟ้าไว้เรียบร้อยแล้วจึงไม่ได้มีการจัดการใดๆ ต่อ

อย่างไรก็ตาม น้ำยาที่ใช้ผสมคอนกรีตตอนนำมาใช้เทสร้างดาดฟ้า ไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันน้ำรั่วซึมอย่างที่เข้าใจ การทำงานของมันคือ ช่วยลดน้ำในคอนกรีต

ทำให้คอนกรีตมีความแน่นและมีความทึบน้ำ น้ำจึงเข้าไปได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในส่วนนี้ถ้าไม่ได้มีการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้าเพิ่มเติม เนื้อคอนกรีตก็ยังต้องเจอแดด ฝน

สุดท้ายแล้วก็จะเกิดการแตกร้าว น้ำรั่วซึมเข้าไปได้เช่นเดิม

การเลือกกันซึมดาดฟ้าให้เหมาะสม

สิ่งสำคัญในการป้องกันดาดฟ้ารั่วซึมก็คือการเลือกกันซึมดาดฟ้าให้เหมาะสม โดยกันซึมดาดฟ้าที่ดีและทนทานที่สุด แนะนำ Polyurethane Waterproof Rubber

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านงบประมาณ ซึ่งทาง DMH จะมีการให้กันซึมให้หลายรูปแบบ ทั้งในระบบ Acrylic Waterproof และ Polyurethane Waterproofing 

โดยทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่าง ดังนี้

– กันซึม Polyurethane Waterproof มีความทนทานและยืดหยุ่นมากกว่า

– ผิวสัมผัสของ Polyurethane Waterproof จะคล้ายกับใบบัว น้ำซึมผ่านได้ยาก ส่วน Acrylic จะมีผิวสัมผัสที่หยาบมากกว่า

– Polyurethane Waterproof มีความทนต่อการแช่น้ำได้นานมากกว่า

– Acrylic Waterproof มีราคาที่ถูกกว่า Polyurethane Waterproof แต่ต้องคอยหมั่นตรวจสอบสภาพหน้างานอยู่เสมอ

การแก้ไขปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และบางอย่างเจ้าของบ้านอย่างเราๆ ยังสามารถทำเองได้ ด้วยการเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่มีคุณภาพ

และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง  แต่ถ้าเกิดปัญหาหนักจนฝ้าบวม ฝ้าทะลุ

ควรต้องเรียกช่างที่มีความชำนาญมาช่วยแก้ไข ส่วนบ้านที่สร้างใหม่  ก็แนะนำให้ทำกันซึมดาดฟ้าไว้เพื่อกันรั่วซึมเป็นดีที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลายๆอย่าง

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบกันซึมได้ที่ Facebook หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line